วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บข้อมูล

                                     ฮาร์ดดิสก์ 
ฮาร์ดดิสก์ (อังกฤษ: hard disk) หรือ จานบันทึกแบบแข็ง (ศัพท์บัญญัติ) คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับมาเธอร์บอร์ด (motherboard) ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน (PATA) , แบบอนุกรม (SATA) และแบบเล็ก (SCSI) ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี, สายไฟร์ไวร์ของบริษัท Apple ที่เป็นที่รู้จักน้อยกว่า รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก (eSATA) ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง
                                         วีซีดี
วีซีดี หรือ วีดีโอซีดี (VCD หรือ Video CD) เป็นรูปแบบมาตรฐานในการจัดเก็บภาพเคลื่อนไหวลงในแผ่นซีดี รูปลักษณ์ของแผ่นวีซีดีเหมือนกับแผ่นซีดี สามารถเล่นได้กับเครื่องเล่นเฉพาะ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว เครื่องเล่นดีวีดี (DVD) เป็นต้น รูปแบบวีซีดีมาตรฐานถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1993 โดย บริษัทโซนี่ บริษัทฟิลิปส์ บริษัทมัทซูชิตะ และ บริษัทเจวีซี ซึ่งได้อ้างอิงไว้ในหนังสือชื่อ ไวต์บุ๊ก (White Book)
ธุรกิจวีซีดีเจริญรุ่งเรืองมากในแถบเอเชีย เพราะว่าเครื่องเล่นนั้นมีราคาถูก

                                                   คุณสมบัติเฉพาะ

วีซีดีความละเอียดในการแสดงผลอยู่ที่ 352 x 240 พิกเซล ในแบบ NTSC หรือ 352 x 288 พิกเซล ในแบบ PAL ซึ่งประมาณหนึ่งในสี่ส่วนของการนำเสนอทางโทรทัศน์ ซึ่งความละเอียดในการแสดงผลอยู่ที่ 720x480 พิกเซล ในแบบ NTSC, 720x576 พิกเซล ในแบบ PAL. ภาพเคลื่อนไหวในวีซีดีอยู่ในรูปแบบ MPEG-1 และเสียงจะเข้ารหัสในรูปแบบ MPEG Layer 2 หรือ MP2 ภาพจะถูกบันทึกด้วยความเร็วบิตเรท 1150 กิโลบิต/วินาที ส่วนเสียงจะอยู่ที่ 224 กิโลบิต/วินาที ภาพทั้งหมดจะอยู่ในมาตรฐาน VHS
ความยาวในการบันทึกบนแผ่นวีซีดีคือ 74 นาที เท่ากับแผ่นซีดี
                                                                         แผ่นซีดี                                             
แผ่นซีดี ย่อมาจาก คอมแพ็กดิสก์ (compact disc) คือแผ่นออฟติคอลเก็บข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ซึ่งเดิมพัฒนาสำหรับเก็บเสียงดิจิทัล ซีดีคือมาตรฐานรูปแบบการบันทึกเสียงทางการค้าในปัจจุบันประวัติ
ในช่วงทศวรรษปี ค.ศ. 1970 (ตรงกับ พ.ศ. 2513 ถึง 2522) นักวิจัยของบริษัทฟิลิปส์ ได้ใช้เทคโนโลยีของแผ่นเลเซอร์ดิสค์ มาทดลองสร้างแผ่นออฟติคอลสำหรับเก็บเสียงแต่เพียงอย่างเดียว โดยเริ่มแรกใช้วิธีการเข้ารหัสเสียงแบบ wideband FM และแบบ PCM ในระบบดิจิทัลในเวลาต่อมา ช่วงปลายทศวรรษ ฟิลิปส์ โซนี่ และบริษัทอื่น ๆ แสดงต้นแบบของแผ่นดิสค์ระบบเสียงดิจิตอล
ในปี พ.ศ. 2522 ฟิลิปส์ และ โซนี่ ตัดสินใจร่วมมือกัน จัดตั้งทีมวิศวกรร่วมซึ่งมีภารกิจออกแบบแผ่นดิสค์ระบบเสียงดิจิตอลแบบใหม่ สมาชิกที่สำคัญของทีมคือ Kees Immink และ Toshitada Doi หลังจากทดลองและถกเถียงกันหนึ่งปี ทีมงานได้ออกมาตรฐานเรดบุ๊ค ซึ่งเป็นมาตรฐานของคอมแพ็กดิสก์ ฝ่ายฟิลิปส์สนับสนุนในเรื่องกระบวนการผลิต โดยอาศัยเทคโนโลยีการผลิตเลเซอร์ดิสค์ ฟิลิปส์ยังสนับสนุนวิธีการมอดูเลตแบบ EFM ซึ่งสามารถบันทึกเสียงได้มาก และทนต่อรอยขูดขีด หรือรอยนิ้วมือ ขณะที่โซนี่สนับสนุนวิธีรหัสแก้ข้อผิดพลาด (error correction) CIRC ในเอกสาร Compact Disc Story ที่บอกเล่าโดยสมาชิกหนึ่งของทีม ให้ข้อมูลถึงที่มาของการตัดสินใจทางเทคนิคจำนวนมาก รวมถึงการเลือกของความถี่การสุ่ม ระยะเวลาในการเล่น และเส้นผ่าศูนย์กลางแผ่นดิสค์ ฟิลิปส์ได้บรรยายไว้ว่า คอมแพ็กดิสก์"ถูกประดิษฐ์ร่วมกันโดยกลุ่มคนมากมายทำงานร่วมกันเป็นทีม" ("invented collectively by a large group of people working as a team."[1])
คอมแพ็กดิสก์ออกวางตลาดในปลายปี พ.ศ. 2525 ในเอเซีย และต้นปีถัดมาในที่อื่น ๆ เหตุการณ์นี้มักถูกมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติเสียงดิจิตอล แผ่นดิสค์เสียงแบบใหม่นี้ได้รับการยอมรับและคำชื่นชมในคุณภาพเสียง จากเดิมที่ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับบันทึกเสียง การใช้คอมแพ็กดิสก์ได้ขยายไปยังด้านอื่น ๆ สองปีต่อมา ใน พ.ศ. 2527 มีการออก แผ่นซีดีรอม (หน่วยความจำอ่านได้อย่างเดียว) ด้วยแผ่นแบบนี้เราสามารถเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์จำนวนมากได้ แผ่นซีดีที่ผู้ใช้สามารถเขียนเองได้ หรือ แผ่นซีดีอาร์ (CD-R) ก็ได้ปรากฏสู่สายตาต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2533 และกลายเป็นมาตรฐานในการแลกเปลี่ยน จัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์และเพลงในปัจจุบัน ซีดีแบบต่าง ๆ ประสบความสำเร็จมาก โดยภายในปี พ.ศ. 2547 เพียงปีเดียวมีการจำหน่ายแผ่นซีดีเพลง ซีดีรอม ซีดีอาร์ ทั่วโลกกว่าสามหมื่นล้านแผ่น                                                       แฟลชไดรฟ์
ตอนนี้หลายคนคงมีธัมบ์ไดรฟ์ หรือแฟลชไดรฟ์ไว้สำรองข้อมูลกันแทบทุกคนอยู่แล้ว แต่ถ้าเกิดแฟลชไดรฟ์ของเราเกิดอาการเดี้ยงขึ้นมาซะดื้อๆล่ะจะทำไงกันดี วันนี้เลยมีวิธีแก้ไขมาฝากกันค่ะ
ปัญหาแฟลชไดรฟ์เดี้ยงในลักษณะที่พอจะเยียวยาได้ สาเหตุและอาการที่พบคือ ในขณะที่ต่อแฟลชไดรฟ์ถ่ายโอนไฟล์อยู่นั้น จู่ๆ Window XP ก็แช่แข็งตัวเองซะงั้น พอบูตเครื่องเสร็จ My Computer ก็ตรวจพบว่า แฟลชไดรฟ์มีความจุเหลือ 0 MB ถึงจะพยายามฟอร์แมตใหม่ก็ไม่สำเร็จ ก่อนที่จะซื้อของใหม่มาใช้ ลองทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ดูก่อนนะค่ะ
  • ดาวน์โหลด และติดตั้งยูทิลิตี้ที่ชื่อว่า HP Drive Key Boot สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://h18000.www1.hp.com/support/files/serveroptions/us/download/23839.html
  • ดับเบิ้ลคลิกไอคอนโปรแกรมบน Desktop เลือกแฟลชไดร์ฟที่ต้องการซ่อม ภายใต้เซ็กชัน Device
  • เลือกระบบไฟล์ที่ต้องการฟอร์แมตให้กับไดรฟ์ ว่าเป็น FAT , FAT32 หรือ NTFS
  • เลือก Quick Format
  • คลิ้กที่ Start ของโปรแกรม
หลังจากที่ฟอร์แมตเสร็จแล้วให้ลองใช้งานดูนะค่ะ ถ้ายังใช้ไม่ได้ ให้ลองทำตามขั้นตอนนี้ค่ะ
  • ต่อแฟลชไดรฟ์เข้ากับพอร์ต USB
  • เปิดโปรแกรม HP Drive Key Boot Utility ภายใต้โฟลเดอร์ HP System Tools
    โปรแกรมจะแนะนำการแฟลชเฟิร์มแวร์ ตลอกจนการทำให้บูตได้ เพียงแค่คลิ้กตามขั้นตอนของมันเท่านั้นแหล่ะค่ะ
ปกติแล้วโปรแกรมตัวนี้ ได้รับการออกแบบให้ใช้ได้กับไดรฟ์ของ HP เท่านั้น แต่เท่าที่ได้ลองทดสอบใช้ดู ก็สามารถใช้ได้กับแฟลชไดรฟ์อื่นๆได้ด้วย หรือแม้แต่การ์ดหน่วยความจำของกล้องดิจิตอลก็สามารถใช้ได้ค่ะ
สำหรับใครที่กำลังเจอปัญหาอย่างนี้อยู่ก้อลองทำดูนะค่ะ เผื่อว่าพอจะแก้ไขได้ จะได้ไม่ต้องเสียเงินซื้อแฟลชไดรฟ์ใหม่ยังไงล่ะค่ะ ^_^